วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

                            
                                                         9 การแต่งกาย


          การแต่งกายเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายนอกจากจะช่วยห่อหุ้มร่างกายให้มิดชิดปลอดภัย และให้ความอบอุ่นแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างบุคลิกรูปร่าง หน้าตา ของผู้สวมใส่ ให้ดูสวยงามสง่า เหมาะสมกับกาลเทศะอีกด้วย
หลักทั่วไปของการแต่งกาย
1.  ถูกกาลเทศะ ควรแต่งกายให้เหมาะกับสถานที่ที่จะไป และในโอกาสต่าง ๆ เหมาะสมกับความนิยม เช่น สถานที่ราชการ ควรใส่สีสุภาพ เรียบร้อย รองเท้าเป็นรองเท้าหุ้มส้น รองเท้าและกระเป๋าควรเป็นสีที่เข้ากัน ไม่ควรสวมเสื้อปล่อยชายออกนอกกระโปรง กางเกง กลัดกระดุมทุกเม็ด ไม่ควรสวมรองเท้าแตะ
            งานแต่งงาน งานเลี้ยงต้อนรับ งานเต้นรำ งานวันเกิด ซึ่งเป็นงานรื่นเริง งานมงคล ควรสวมเสื้อผ้าที่หรูหราเล็กน้อย รองเท้าหุ้มส้นหรือสวมสูท (สำหรับท่านผู้ชาย)
           งานศพ      : หญิง สวมเสื้อคอปิดสีดำ สีขาวดำ รองเท้าหุ้มส้น ไม่สวมเครื่องประดับมากเกินไป ไม่ใส่เครื่องประดับที่มีสีสัน
ชายสวมชุดสีเข้มหรือสูท รองท้าคัทชู ถ้าสวมชุดสากลจะติดแขนทุก ที่ข้างซ้ายเหนือศอก
           งานบุญ      : ไม่ควรสวมกางเกงรัดรูปหรือกระโปรงสั้น หรือควรแต่งกายให้สุภาพไปพบผู้ใหญ่ ควรแต่งกายให้สุภาพไม่สวมแว่นตาดำ ไปเข้าเฝ้าฯ ในงานพระราชพิธี ราชพิธี หรืองานสโมสรสันนิบาต ต้องแต่งตามหมายกำหนดคำสั่งหรือแต่งตามระเบียบที่วางไว้ ซึ่งอาจเป็นเครื่องแบบปกติหรือเครื่องแบบเต็มยศ เครื่องยศประดับ เครื่องราชอิสรยาภรณ์ สวมสายสะพายหรือเครื่องราชอิสรยาภรณ์ (สำหรับเครื่องแบบปกติ)
2. ความสะอาดเรียบร้อย ควรรักษาความสะอาด ซักรีดให้เรียบร้อยเสมอ เพราะความสะอาด เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความงาม และช่วยสร้างความเชื่อถือ ไว้วางใจให้กับตัวเอง
3.   สวมเสื้อผ้าที่พอดีกับร่างกาย ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป
4.   ควรเลือกสีและแบบของเสื้อให้เหมาะสมกับวัย รูปร่าง เพศ สีผิว สีชมพูสดสำหรับคนผิว ขาวสะอาด สีชมพูอมส้มเหมาะกับคนผิวสีการะเกด คนผอมต้องใช้สีอ่อนเย็นตา อย่าเลือกผ้าทีเนื้อเนียนเป็นมัน จะทำให้มองดูผอมมาก ควรเลือกผ้าชนิดเนื้อแข็ง เมื่อตัดเย็บเป็นเนื้อผ้าแล้ว จะมองดูเป็นคนมีเนื้อหนังขึ้น
สำหรับคนอ้วนใช้ผ้าลวดลายดอกพราว เด่น สีสดสวย จะทำให้มองไม่เห็นความอ้วน
ผิวสีคล้ำ ควรเลือกสีชมพู สีเหลือง สีฟ้า ถ้าเป็นดอกก็ควรออกลวดลาย สีเหลือง สีฟ้า สีชมพู
สีส้ม สีเปลือกข้าวโพด ห้ามเด็ดขาด อย่าเลือกใช้สีขรึม ๆ ประเภทออกน้ำตาลแก่ เทาแก่ น้ำเงินแก่ มาสวมเพราะจะทำให้ผิวดำคล้ำ มากขึ้น
ผิวสีขาวจัด ควรเลือกสีผ้าน้ำตาลอ่อน สีเขียวหม่น ๆ สีชมพูอมสีปูน สีเหลืองอมสีส้ม สีส้มอมสีน้ำตาล สีเลือดหมู ควรหลีกเลี่ยงใช้สีอ่อน ชมพู สีเหลืองอ่อน เพราะจำทำให้สีผิวซีดเป็นไก่ต้ม ควรใช้สีขรึม ๆ จะทำให้มองน่าชวนพิศขึ้น
การเลือกสีเสื้อผ้ามาสวมใส่ให้เด่นสะดุดตา และสีของเสื้อผ้ากลมกลืนกับสีของผิวนั้นเป็นการแสดงออกซึงรสนิยมอันดีงามของผู้สวมใส่ ดังนั้น ก่อนที่คุณหญิงจะตกลงใจตัดเสื้อผ้าไว้สวมใส่ จะพิจารณาเทียบดูกับผิวเนื้อของคุณเสียก่อน ถ้าตกลงใจว่าจะใช้สีใด ก็จะกล้าแต่งวางตัวให้เหมาะสมด้วยจะช่วยให้คุณแจ่มใสและเป็นสุขใจสวยงามขึ้น แต่ถ้าจะถือว่าพอใจของคนเสียอย่างก็จงเลือกแต่งตามใจเถิด แต่ไม่พ้น สีที่กล่าวมาหรอก
5.  ควรสวมรองเท้าให้เหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ เช่นรองเท้าแตะให้สวมในบ้าน รองเท้า รัดส้น หรือรองเท้าหุ้มส้น ให้สวมเพื่อออกไปทำงาน หรือสวมออกไปในที่ชุมชน
การเลือกเครื่องแต่งกายโดยทั่วไป
การเลือกเครื่องแต่งกายทั้งชายและหญิง ไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับมากเกินไป
ชาย      : ควรมีนาฬิกา เนคไท เข็มกลัดเนคไท แหวนแบบเรียบ ๆ แหวนรุ่น แว่นกันแดด
หญิง     : ควรมีสร้อยคอ สร้อยข้อมือ นาฬิกา แหวนทอง แหวนเพชรแบบเรียบ ๆ กำไล ต่างหู

                                                การเสริมสร้างบุคคลิกภาพ

                               

                                    personality


                   
                บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเพราะสิ่งที่เราแสดงออกตลอดการใช้ชีวิตประจำวันก็คือบุคลิกภาพของเรานั่นเอง ซึ่งใช้เวลาหล่อหลอมขึ้นมาตั้งแต่เราเกิด สิ่งต่างๆที่เราได้เรียนรู้ พฤติกรรม การวางตัว สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล ดังนั้นเราจึงควรสังเกตบุคลิกภาพของตัวเองหรือถามเพื่อน ไม่ก็คนในครอบครัวเพื่อช่วยสังเกตว่าเราควรแก้ไขบุคลิกภาพด้านใดหรือไม่ การฝึกฝนและแก้ไขบุคลิกภาพต้องใช้เวลายิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้น ดังนั้นหากพบตั้งแต่เด็กหรือก่อนเข้าสู่วัยทำงานจะได้แก้ไขได้ทัน เพื่อให้เรามีบุคลิกภาพที่ดี มีความน่าเชื่อถือ บุคลิกภาพสามารถจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

1. พฤติกรรมทางสายตาหรือการมอง

หลายคนอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ หมายถึงสายตาสามารถส่งผ่านความรู้สึกต่างๆออกมาได้ ดังนั้นพฤติกรรมการมองของคุณสามารถผูกมิตรหรือทำลายก็ได้ สิ่งที่ไม่ควรทำจนเป็นนิสัยคือการมองแบบกดสายตาลงซึ่งสื่อถึงการดูถูกเหยียดหยาม การมองด้วยหางตาก็ไม่ควรทำจนติดเป็นนิสัยเพราะอาจทำให้ตาเข ตาเอียงได้ การไม่มองหน้าคู่สนทนาก็ถือว่าไม่ให้เกียรติคู่สนทนาเช่นกันควรหลีกเลี่ยง แต่ห้ามจ้องคู่สนทนาเช่นกันเพราะเป็นการสร้างความกดดันให้กับคู่สนทนา

2. พฤติกรรมการแต่งกาย

มีสำนวนไทยสำนวนหนึ่งที่กล่าวว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง หากเราแต่งกายไม่เรียบร้อย ไม่ดูแลตนเอง ผู้คนก็จะมองว่าเราไม่มีความรับผิดชอบ ขาดความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดี มีผลต่อการปฏิสัมพันธ์ในสังคมระดับหนึ่งเลยทีเดียว นอกจากความสะอาดเรียบร้อยแล้ว กาลเทศะก็เป็นเรื่องที่สำคัญ งานสังคมต่างๆก็มีข้อกำหนดที่ต่างกันออกไปดังนั้นคุณต้องเรียนรู้และสอบถามให้ชัดเจนเพื่อให้ปฏิบัติตัวถูกต้องกับกาละเทศะ

3. พฤติกรรมการพูด

สำนวน พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการพูดที่ดี คำพูดเป็นวิธีการสื่อสารวิธีหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเราสามารถถ่ายทอดความคิด อารมณ์ ความรู้สึกผ่านทางคำพูดได้ทั้งหมด ดังนั้นเวลาพูดคุณต้องระวังคำพูดให้มาก ฝึกตนเองให้มีความสุภาพ มีความมั่นใจ เสียงดังฟังชัด แต่ก็ต้องควบคุมไม่ให้มากจนผู้ฟังรู้สึกว่าคุณตะโกนใส่เขา หรือไม่รับฟังความคิดเห็นของเขา เรื่องระดับของภาษาก็ต้องเลือกให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้ผิดใจกัน

4. พฤติกรรมการเดิน

การเดินตัวตรง หลังตรง อกผายไหล่ผึ่งจะทำให้ดูดีมีสง่าราศี เรียบร้อย ก้าวเท้ายาวพอประมาณสอดคล้องกับเสื้อผ้าที่ใส่ให้ดูคล่องแคล่วและปลอดภัย ระวังไม่ให้เกิดเสียงฝีเท้ารบกวนผู้อื่น

การสร้างเสริมบุคลิกภาพ
          ปัจจัยพื้นฐานของกาสร้างเสริมบุคลิกภาพ คือ
1. ลักษณะโครงสร้างของบุคลิกภาพ
2. ปฏิสัมพันธ์ในสังคม (Social interaction)
3. การเรียนรู้ทางสังคม (Social leaning)
4. ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
1. ลักษณะโครงสร้างของบุคลิกภาพ เช่น ความเข้าใจในเรื่อง อิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้ ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ซึ่งได้
กล่าวถึงว่า บุคลิกภาพ จะเกิดขึ้นอย่างไรนั้น ก็ย่อมจะต้องใช้อิทธิพลของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ หากเมื่อใดที่บุคคลใช้อิด ซึ่ง
เป็นความพึง พอใจส่วนบุคคล และเป็นสัญชาตญาณ ตามธรรมชาติแล้ว บุคลิกภาพที่ปรากฏออกมา ก็จะมีลักษณะก้าวร้าว เห็น
แก่ตัว แต่หากบุคคลได้ใช้ กระบวนการของซูเปอรอีโก้เป็นตัวประสาน เพื่อลดความต้องการของอิด ให้น้อยลงแล้ว บุคคลก็จะ
สามารถแสดงบุคลิกภาพอันเป็น ที่พึงประสงค์ของสังคม ในลักษณะของอีโก้ได้ บุคลิกภาพที่เกิดในลักษณะของอีโก้ นี้จะเป็นที่
ยอมรับของสังคม ดังนั้น การสร้างเสริมบุคลิกภาพ จึงมีเป้าหมายที่ส าคัญใน การที่จะให้บุคคลได้แสดงออกในลักษณะของอีโก้
ดังนี้เอง
"ตัวตน" (self) ตามทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู้ตัวเองนั้น ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องอย่างมากต่อบุคลิกภาพ
ของบุคคล
การที่บุคคลมีความเข้าใจและรู้จักตนเองได้ดีนั้น ย่อมหมายถึงว่าบุคคลได้สามารถประสานสัมพันธ์ระหว่างการมอง
ตนเอง และประสบการณ์แห่งความเป็นจริงที่มีอยู่ได้ ท าให้บุคคลไม่เกิดความขัดแย้งในตนเอง บุคลิกภาพที่เกิดขึ้นจะเป็น
ลักษณะของการที่ช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อสังคม แต่ในทางตรงข้าม ถ้าบุคคลไม่สามารถที่จะมองตนเองได้สอดคล้องกับ
ความเป็นจริงแล้ว ก็จะเกิดความขัดแย้งในตนเอง ท าให้ต้องดิ้นรนเพื่อลดความขัดแย้งในตนด้วยวิธีการต่างๆ เป็นเหตุให้บุคคล
เกิดบุคลิกภาพในด้านของการต่อต้านสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง ขาดความนับถือตนเอง ดังนั้น การสร้างเสริมบุคลิกภาพจึง
เป็นเรื่องที่จะเน้นเกี่ยวกับการให้บุคคลมีการรับรู้ตนเองได้ตามความเป็นจริง (self perception) เพื่อบุคคลจะได้มีการมองตนเอง
(self concept) อย่างถูกต้อง ซึ่งจะได้พัฒนาบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคมต่อไป
2. ปฏิสัมพันธ์ในสังคม (social interaction) ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาพลวัตได้กล่าวไว้ว่าการที่บุคคลจะเกิดมี
บุคลิกภาพอย่างไรนั้น เป็นผลของการที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ซึ่งจะท าให้บุคคลได้พบกับลักษณะของความด้อย-ความ
เด่น ตลอดจนการมีครรลองชีวิตที่เป็นของตนเอง ปฏิสัมพันธ์ในสังคมจึงเป็นเรื่องที่มีความส าคัญมากเพราะท าให้บุคคลได้มี
โอกาสรับรู้ตนเองจากภาพการมองของผู้อื่น ซึ่งเป็นเสมือนกระจกเงาฉายภาพตัวตนของบุคคลออกมาได้ชัดเจนกว่าการที่บุคคล
มองตนเองเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะมีอคติส าหรับตนเองด้วยในบางครั้งหรือบ่อยครั้ง การรับรู้ตนเองอย่าง ถูกต้องจะท าให้
บุคคลสามารถแสดงออกซึ่งบทบาทที่เหมาะสมและเกิดบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ตามมาด้วย ความเด่น-ความด้อย และครรลอง
ชีวิตของบุคคลจะมีผลในการสร้างรูปแบบของบุคลิกภาพทั้งทางที่สังคมพึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการสร้างเสริม
บุคลิกภาพในบุคคลก็ควรจะได้ค านึงถึงความส าคัญของปฏิสัมพันธ์ในสังคมประกอบด้วยอีกประการหนึ่ง
P a g e 2
3. การเรียนรู้ทางสังคม (social learning) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมได้ให้แนวคิดพื้นฐานส าคัญว่าการเรียนรู้ทาง
สังคมนั้นเป็นกระบวนการที่บุคคลไดรับข้อมูลต่างๆ จากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม โดยจะมี
กระบวนการจ า และน ามาใช้เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามต่อไป นักจิตวิทยาได้เน้นความส าคัญในแนวคิดนี้ด้วยว่า การเรียนรู้
และการแสดงออกเป็นเรื่องที่มีความแตกต่างกัน คือการเรียนรู้ใช้เพียงการสังเกตเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว แต่การแสดงออกเป็น
พฤติกรรมนั้นจะต้องมีการใช้ทั้งแบบอย่างที่ได้รับมาจากการสังเกตและ กระบวนการที่จะเลือกแบบอย่างที่เหมาะสมมาใช้ ดังนั้น
จากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจะช่วยท าให้เราได้ทราบว่า บุคลิกภาพของบุคคลที่เกิดขึ้นมานั้น ต้องอาศัยทั้งการที่บุคคลมี
ความจ าในแบบอย่างของพฤติกรรมของผู้อื่น แล้วน ามาเข้ากระบวนการเลือกสรร แล้วจึงแสดงออกเป็นบุคลิกภาพที่ปรากฏให้
เห็น ฉะนั้นถ้าหากจะให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคมแล้ว การสร้างเสริมบุคลิกภาพ
ก็ควรจะมีขั้นตอนของการให้บุคคลได้สังเกตแบบอย่างพฤติกรรมที่เหมาะสม แล้วน าไปใช้ในกระบวนการเลือกสรร
เพื่อพัฒนาเป็นบุคลิกภาพของตนเอง
4. ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะนี้ค่อนข้างจะเป็นพื้นฐานของบุคลิกภาพที่ปรากฎทางกายและสมอง
บางอย่าง ซึ่งบุคคลที่เกิดมาแล้วจะเลือกหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่นคนเตี้ย โดยพ่อแม่ทั้งสองคน ถึงแม้จะได้รับอาหาร
ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักโภชนาการก็จะมีการเติบโตเพิ่มมากกว่าพ่อแม่บ้าง แต่ก็คงจะไม่เหมือนกับคนที่มี
พันธุกรรมเป็นคนสูงทั้ง ครอบครัว หรือโรคบางอย่างที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น สติปัญญาอ่อน ตาบอดสี ก็คงจะยากที่จะ
ได้รับการแก้ไข ดังนั้นจึงจะเป็นเรื่องของการปรับตัวต่อสภาพทางพันธุกรรมที่มีอยู่มากกว่าแก้ไขให้หมดไป การเสริมสร้าง
บุคลิกภาพตามพื้นฐานประการนี้ก็น่าจะเป็นการสร้างและเสริมบุคลิกภาพให้ดีตามลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล มากกว่าการ
เปรียบตนเองกับบุคคลอื่น
จะเห็นได้ว่าปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการสร้างเสริมบุคลิกภาพที่เหมาะสมทั้งสิ้น ซึ่งในการสร้างเสริม
บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคมนั้น ก็จะได้อาศัยปัจจัยเหล่านี้ในการก าหนดวิธีการในการสร้างและเสริมบุคลิกภาพต่อไป
ในการสร้างและเสริมบุคลิกภาพของบุคคลนั้น ควรที่จะต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือ การสร้างบุคลิกภาพ
และการเสริมหรือการปรับปรุงบุคลิกภาพ
การสร้างบุคลิกภาพ หมายถึง กระบวนการที่จะท าให้เกิดบุคลิกภาพขึ้นในตัวของบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่จ าเป็นที่จะต้อง
เริ่มสร้างสมมาตั้งแต่เยาว์วัย จึงจะท าให้เกิดบุคลิก ภาพที่พึงประสงค์ของสังคมได้ สถาบันทางสังคมและการศึกษา จะต้องท า
หน้าที่รับผิดชอบในการสร้างบุคลิกภาพให้แก่บุคคล สถาบันสังคมที่มีความส าคัญต่อการสร้างบุคลิกภาพก็ได้แก่
ครอบครัว โรงเรียน ศาสนา และวัฒนธรรม
P a g e 3
การสร้างบุคลิกภาพให้แก่บุคคลในสังคมนั้นควรจะต้องพิจารณาสร้างบุคลิกภาพใน 2 ประการหลักคือ
1. การสร้างบุคลิกภาพตามความต้องการของสังคม การสร้างบุคลิกภาพแบบนี้จะเป็นการสนับสนุนความคิดเชิง
สังคมของบุคคล และจะช่วยท าให้สังคมสามารถด ารงอยู่ได้อย่างเป็นสุขและมั่นคง ส าหรับประเทศไทยเราเองนั้น บุคลิกภาพตาม
ความต้องการ ของสังคมควรจะต้องเริ่มด้วยบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย ซึ่งในความเข้าใจของคนไทยทั่วไป ยังมีคนอีกจ านวน
มาก ที่มีความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องของการมีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย โดยมักจะใช้บุคลิกภาพแบบตามใจตัวเอง ยึด
ตนเองเป็นหลักแล้วเรียกว่า บุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างบุคลิกภาพดังกล่าวนี้ จึงควรที่จะให้ครอบครัว
และโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการสร้างบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแก่เด็กและเยาวชน โดยการอบรมเลี้ยงดูในบ้าน
ก็ควรจะเป็นประชาธิปไตย จะต้องมีการควบคุมให้เหมาะสมระหว่าง ลักษณะของการออกค าสั่งกับการปล่อยตามใจเด็ก เพื่อจะ
ได้ให้เด็กเริ่มเรียนรู้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงจากครอบครัวก่อน ส่วนโรงเรียนก็จะเป็นอีกแหล่งหนึ่ง ที่จะสร้างบุคลิกภาพ
ประชาธิปไตย กล่าวคือ ครูควรจะมีลักษณะการสอนแบบประชาธิปไตย บรรยากาศการเรียนในห้องเรียน ก็ควรจะใช้หลักการ
บริหารนักเรียนแบบนี้ด้วย เช่น การเลือกตั้งหัวหน้าก็ควรจะได้มีการด าเนินการให้สอดคล้องกับกระบวนการ เลือกตั้งของสังคม
และใคร่จะขอย้ าอีกครั้งหนึ่งว่า ประชาธิปไตยในห้องเรียนไม่ใช่การปล่อยให้นักเรียนท าอะไรตามใจชอบ แต่จะต้องปฏิบัติตาม
กฎระเบียบที่กลุ่มได้ร่วมกันวางไว้และถ้าใครไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องมีการลงโทษบ้างตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้
อีกเรื่องหนึ่งในการสร้างบุคลิกภาพของคนไทยก็คือ บุคลิกภาพตามหลักทางพุทธศาสนา ประเทศไทยเป็นประเทศ
ที่ประชาชนกว่า ร้อยละ 90 นับถือพุทธศาสนา จึงจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพของคนไทย จะโน้มเอียงไปใน ทางความเชื่อของศาสนา
มาก เช่น การมีศีลธรรม การท าความดี เป็นต้น ส าหรับศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย ก็จะมีหลักของศาสนาที่จะอบรม และสร้าง
บุคลิกภาพ ทางศาสนาให้แก่บุคคล ในแนวทางที่คล้ายคลึงกับ ศาสนาพุทธในเรื่อง ของศีลธรรม และการท าความดีเช่นกัน
การสร้างบุคลิกภาพตามหลักวัฒนธรรม ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพของคนไทย เช่น
บุคลิกภาพอ่อนน้อม บุคลิกภาพเชื่อฟังผู้ใหญ่บุคลิกภาพการมีใจกว้าง เป็นต้น
2. การสร้างบุคลิกภาพส่วนบุคคล เป็นลักษณะการสร้างบุคลิกภาพเฉพาะแต่ละคน แม้บุคคลจะมีความแตกต่าง
กันไป ตามความ แตกต่าง ระหว่างบุคคล แต่เมื่อบุคลิกภาพเฉพาะของบุคคลแสดงออก ก็ควรเป็นบุคลิกภาพที่สังคมพึงประสงค์
ด้วย การสร้างบุคลิกภาพ ส่วนบุคคลจะต้องอาศัย กระบวนการพัฒนาบุคคลในด้านต่างๆ ซึ่งได้แก่
2.1 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสรีระและร่างกาย ควรจะได้มีการส ารวจความเจริญเติบโตของร่างกายเด็กทุก
ระยะ เช่น เด็กพูดได้หรือยัง พูดชัดหรือไม่ชัดฟันขึ้นปกติหรือไม่ เรียบหรือเก มีแขนขา ร่างกายส่วนใดผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีสิ่ง
ผิดปกติก็จะได้ช่วยดัดแปลง แก้ไข หรือถ้าเกินความสามารถก็จะได้ปรึกษาแพทย์ให้ช่วยเหลือแก้ไข
2.2 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสติปัญญา ต้องคอยระวังอย่าให้เด็กได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง เช่น
หกล้มอย่างแรง หรือมีอะไรกระทบสมองอย่างแรงเพราะจะท าให้สมองเสื่อม ระวังการเจ็บไข้และโรคบางชนิดที่จะเป็นผล
กระทบกระเทือนถึงสมอง ควรจะให้เด็กได้รู้จักฝึกฝน และรู้จักใช้สมองบ้างตามความเหมาะสม
2.3 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางการควบคุมอารมณ์ อารมณ์มีส่วนส าคัญในการช่วยสร้างบุคลิกภาพของคนมาก
ที่สุดอย่างหนึ่ง ส าหรับเด็ก ความรักมีอิทธิพลในทางอารมณ์มาก เพราะอาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ทั้งในทางที่ดีและไม่ดีได้
ดังนั้นเราจึงมักจะเห็นว่าเมื่อเด็กที่ขาดความรักจากพ่อแม่ จะเกิดความว้าเหว่า ขาดความอบอุ่นทางใจ
P a g e 4
ขาดความปลอดภัย เขาก็จะหาทางออกโดยการเรียกร้องความสนใจหรือแสดงการก้าวร้าว ในที่สุดจะท าให้เขา
ประพฤติด้วยไม่ดี ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง กลายเป็นคนช่วยตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังสิ่งที่จะท าให้เกิดอารมณ์ที่ไม่
พึงประสงค์นี้เสีย เพื่อเด็กจะได้มีพัฒนาการทางอารมณ์ไปในทางที่ถูกต้องของแต่ละวัยจนเป็นผู้ใหญ่ที่มีอารมณ์มั่นคง
2.4 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กย่อมจะอยู่ในสังคมที่กว้างขึ้น จากบ้านขยายไปอยู่
โรงเรียน และชุมชนตามล าดับ เด็กจึงจ าเป็นที่จะต้องรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมได้ทุกๆ ระยะผู้ใหญ่ควรจะให้้ค าแนะน า และ
ช่วยเหลือเท่าที่จะสามารถท าได้ เพื่อเด็กจะได้ไม่เป็นคนหลบหนีสังคม ซึ่งอาจจะเป็นผลเสีย ท าให้เกิดโรคจิตบางประเภทได้
การเสริมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย หมายถึงกระบวนการในการพัฒนาหรือปรับปรุงบุคลิกภาพ และลักษณะ
นิสัยที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นไปตามแนวทางที่พึงประสงค์ของสังคม การเสริมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยนั้นเป็นเรื่องที่ท าขึ้น
ภายหลังจากที่บุคคล ได้สร้างบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยมาแล้ว การจะเสริมบุคลิกภาพให้ได้ผลดีนั้นควรจะท าเสียแต่ในวัย
ต้นๆ ของชีวิตคือ ก่อนที่บุคลิกภาพจะฝังรากลึกจนกระทั่งยากต่อการปรับปรุง กระบวนการเสริมบุคลิกภาพอาจจะมีขั้นตอน
ดังนี้คือ
1. การส ารวจตนเอง เป็นกระบวนการที่บุคคลเริ่มส ารวจบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของตนเอง เพื่อที่จะได้รู้
ตนเองนั้น มีลักษณะ บุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยอย่างไรบ้างและบุคลิกภาพที่มีอยู่นั้นควรกับความต้องการของสังคมหรือไม่
เคยมีปัญหาใด ในการแสดง บุคลิกภาพบ้างหรือไม่ การส ารวจตนเองจะท าได้ใน 2 ทางคือ
1.1 การวิเคราะห์ตนเอง เป็นการที่บุคคลพยายามค้นหาองค์ประกอบบุคลิกภาพของตนเอง เพื่อได้ทราบว่า
องค์ประกอบแต่ละอย่างนั้น มีความสมบูรณ์ถูกต้อง อย่างไรบ้างเมื่อแยกวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ แล้ว ก็ควรจะประเมินสรุป
บุคลิกภาพของตนเองว่า ควรจะคงไว้ในส่วนใด และควรจะปรับปรุงในส่วนใด ที่ส าคัญคือผู้วิเคราะห์ตนเองจะต้องยอมรับใน
ข้อบกพร่องเพื่อการแก้ไขต่อไปด้วย
1.2 การรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น โดยปกติแล้วมนุษย์จะมีความล าเอียงเข้าข้างตนเองเสมอๆ ดังนั้นการ
วิเคราะห์ตนเอง เพียงประการ เดียว อาจจะยังไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอในการปรับปรุงบุคลิกภาพ จึงจ าเป็นจะต้องประเมิน
ตนเอง โดยการอาศัยการมอง ของผู้อื่นว่า เขาคิดอย่างไรต่อบุคลิกภาพของเรา เพื่อจะได้น าส่วนที่บกพร่องมา แก้ไขต่อไป
2. การรู้จักตนเอง เมื่อบุคคลส ารวจตนเองได้ข้อมูลมากเพียงพอแล้ว บุคคลควรจะประมวลสรุปบุคลิกภาพเพื่อ
รู้จักตนเองใน 3 ลักษณะ คือ
2.1 อุปนิสัยและนิสัยของตนเอง
2.2 ลักษณะส่วนรวมของตนเอง และ
2.3 บทบาทของตนเอง
3. การรู้จักปรับปรุงบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย เป็นการน าข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตนเองแล้วมาตรวจพบข้อบกพร่องต่างๆ ซึ่งจ าเป็นจะต้องมีการปรับปรุง โดยการที่บุคคลจะต้องมองหาลักษณะบุคลิกภาพ ที่จะเป็นแบบอย่างที่จะใช้ใน
การปรับปรุงต่อไปแล้ว พยายามเตือนตนเอง ให้ละทิ้งบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเดิมที่บกพร่อง แล้วพยายามปฏิบัติตาม
แบบอย่าง ของบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยใหม่ การปรับปรุงบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและจะต้องมี
ความตั้งใจจริง โดยตัวของบุคคล ที่จะปรับปรุงบุคลิกภาพเอง จะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ด้วยการยอมรับข้อบกพร่อง
ของตน และผลที่มีต่อตนเอง และผู้อื่นเป็น ประการส าคัญ ทั้งต้องรู้จักแสวงหาหนทางที่จะช่วยให้ ตนเองได้รับรู้บุคลิกภาพ และ
P a g e 5
ลักษณะนิสัยที่สร้างสรรค์อันควร ต่อการเสริมสร้าง ให้เกิดขึ้น และที่ส าคัญก็คือ การส่งเสริมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย
ดังกล่าวนี้ จะต้องไม่ไปกระทบกระเทือนต่อ การมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหรือความเป็นตัวของตัวเอง
ความแตกต่างและความเบี่ยงเบนของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพของบุคคลแต่ละคนจะมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน แต่ก็อาจมีบางคนที่มีบุคลิกภาพที่คล้ายคลึง
กัน ได้บ้าง ดังนั้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพของบุคคลมีความแตกต่างกัน นอกจากความแตกต่างของบุคลิกภาพ ใน
ลักษณะปกติแล้ว บางครั้ง บุคลิกภาพของบุคคลก็จะมีการผันแปรออกไปจากมาตรฐานที่สังคมก าหนด ความเบี่ยงเบนของ
บุคลิกภาพนี้ จะทราบได้โดย การประเมินบุคลิกภาพด้วยวิธีการต่างๆ
ความแตกต่างของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพของบุคคลจะแตกต่างกันเพราะ บุคคลที่มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐานต่างๆ
เทคนิคการเลือกซื้อเสื้อผ้าให้เหมาะกับรูปร่างและรูปหน้า

           หลังจากที่ได้เสนอเทคนิคการเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะกับสีผิวของคุณ ๆ แล้ว คราวนี้จะขอแนะนำเพิ่มเติมเทคนิคการเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะกับรูปร่างกันบ้างนะคะ อย่างที่รู้ๆกันอยู่แล้วว่าการแต่งตัวควรเลือกจากลักษณะรูปร่างของตัวเองเป็นหลัก การเลือกใส่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่เหมาะกับรูปร่างของตัวคุณเองรวมไปถึงรูปหน้าของคุณ ๆ ด้วยนอกจากจะทำให้คุณดูดี มีรสนิยมแล้ว ยังทำให้ตัวคุณมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นด้วยคะ

การเลือกเสื้อผ้าตามรูปร่างและรูปหน้า

1. เลือกเสื้อผ้าที่เหมาะกับใบหน้าของคุณ

-คนหน้ากลม ต้องไม่เลือกเสื้อคอ กลม ควรเลือกใส่เสื้อคอ V คอแบะหรือคอเปิด


                             

-คนหน้าเหลี่ยม ควรเลือกใส่เสื้อคอ V   คอเสื้อ รูปตัว U หรือคอแบะ คอเปิด


                                 
 -คนหน้ายาว ควรเลือกเสื้อคอกลมหรือคอตั้ง

                                 

2. เลือกเสื้อที่สามารถแก้จุดด้อยของคอ

-คนคอสั้น ควรเลือกเสื้อคอเปิด คอแบะหรือเสื้อคอต่ำ

                

-คนคอใหญ่ ควรเลือกเสื้อที่มีคอแบบจีนคอตั้งหรือคอเสื้อ ที่แคบแต่ลึก และผูกผ้าพันคอ


           
-คนคอยาว ควรเลือก คอปกตั้งและผ้าพันคอที่พันชิดกับคอ



3. เลือกเสื้อผ้าที่ส่งเสริมจุดเด่น หลีกเลี่ยงจุดด้อย

-คนหน้าอกใหญ่ ควรเลือกเสื้อคอเปิดหรือคอต่ำหรือเสื้อหลวมที่มีไหล่ กว้าง
        


-คนหน้าอกเล็ก ควรเลือก เสื้อที่มีคอเปิดเป็นแนวเล็กยาวและเสื้อลายขวาง

       

-คนเอวสั้น ควรเลือกเสื้อคลุมเอวสูงที่จับจีบ หรือกระโปรง อัดพีท


         
-คนสะโพกแคบ ควรเลือกกางเกงทรงหลวม หรือกางเกงที่จีบด้านบน   กระโปรงจีบแบบหลวม หรือเสื้อแจ๊คเก็ตตัวหลวม

       

-คนสะโพกใหญ่   ควรเลือก กระโปรงหรือกางเกงที่พอดีตัวและมีส่วนโค้งส่วนเว้า เสื้อ หรือเสื้อกล้ามต้องยาวคลุมสะโพก   ถ้าจะให้ดีกระโปรง   ควรมีกระดุมเล็กๆ   เป็นแถวยาวหรือรอยตะเข็บตรงกลาง







                                                   การแต่งกายให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพ

บุคลิกภาพ
 
            บุคลิกภาพในทางสังคมหมายถึง ภาพของแต่ละบุคคลที่ปรากฏในด้านการแต่งกาย ท่วงทีกริยา
การแสดงออก ที่จะทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจทั้งในด้านบวกหรือด้านลบ ผู้ที่ปรากฏกายอย่างดี
ทั้งด้านการแต่งกายและมารยาทสังคมอันดี จะเป็นที่ประทับใจใคร่คบหาษมาคมนิยมชมชื่น
บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน เช่น การฝึกท่วงทีกริยาที่ดูดี แต่งกาย
ให้เหมาะสมกับกาละเทศะ การมีมารยาทสังคมที่ดี
 
 การเสริมสร้างบุคลิกภาพ
 
             การเสริมสร้างบุคลิกภาพสามารถพัฒนาได้ ตั้งแต่การเคลื่อนไหว การทรงตัว การพูด
ความสะอาดหมดจด ความนึกคิดที่ดี ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ดังนี้
 

  การนั่ง ควรนั่งไหล่ตรง หลังตรง วางมือในที่อันควร
  การยืน ควรยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง ขาตรง เท้าชิด หรือเบี่ยงเล็กน้อย
  การเดินและการเคลื่อนไหว ควรเดินตัวตรง ศีรษะตั้งตรง แกว่งแขนเล็กน้อย
  การหยิบของที่พื้น ควรย่อตัวลงหยิบ ไม่ใช่ก้มตัวลงหยิบ
  การพูด ควรพูดด้วยจังหวะที่ดี ใช้น้ำเสียงที่จริงใจ ให้ความรู้สึกเป็นมิตร
  การแสดงสีหน้า ควรแสดงสีหน้าปกติ ไม่แสดงความยินดี โกรธ หรือเย็นชาจนเกินไป
  การคิด ควรคิดแต่สิ่งที่ดี ไม่หมกมุ่นอยู่กับความทุกข์
  การรักษาสุขภาพและความสะอาด ควรรักษาน้ำหนักให้เหมาะสมกับความสูง
รักษาสุขภาพกายและจิตให้ดีอยู่เสมอ รักษาความสะอาดของร่างกาย สุขภาพที่ดี
จะส่งผลให้บุคลิกภาพดีด้วยเช่นกัน
 
 
 การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาละและเทศะ
 
              การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาละและเทศะหมายถึง การใช้เสื้อผ้ารวมถึงเครื่องประดับตกแต่ง
ร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า โดยให้เหมาะสมกับกาละคือเหมาะสมกับเวลากลางวัน กลางคืน
งานเลี้ยงต่างๆ และเหมาะสมกับเทศะคือเหมาะสมกับสถานที่เช่น สถานที่ราชการ โรงเรียน
โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
 
 ความสำคัญของการแต่งกาย
 
           ความสำคัญของการแต่งกายก็มีด้วยกันอยู่หลายประการ เช่นเพื่อป้องกันอันตราย เห็นได้จากการ
ใส่เสื้อผ้าเพื่อป้องกันความหนาว การใส่เสื้อแขนยาวเพื่อป้องกันแสงแดด หรือแต่งกายเพื่อดึงดูด
ความสนใจและความสวยงาม แต่งกายเพื่อแสดงฐานะทางสังคม เช่นเครื่องแบบนักศึกษา ข้าราชตำรวจ หรือการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับราคาแพงก็สามารถบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมได้เช่นกัน
นอกจากนี้การแต่งกายยังบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมและความสุภาพ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็มีลักษณะ
แบบแผนของตนเอง อย่างเช่นธรรมเนียมตะวันตกถ้าเป็นงานพิธีการจะต้องแต่งกายครบเครื่อง
สวมถุงน่อง รองเท้า หมวก ถุงมือ แต่ถ้าป็นธรรมเนียมไทยเราจะไม่สวมหมวก
 
 
 ประเภทของการแต่งกาย
 
 
       โอกาสปกติ การแต่งกายในโอกาสปกติ ได้แก่การไปทำงาน ประชุม สอบสัมภาษณ์
  ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามสมัยนิยมเหมาะกับสถานที่และสภาพอากาศ
 
       โอกาสพิเศษ งานทั่วไป ถ้าในบัตรเชิญกำหนดว่าแต่งกายตามสบาย casual dress หรือ
casual clothes สุภาพบุรุษสามารถสวมเสื้อเชิตผูกเนคไท ชุดพระราชทานหรือ
ใส่เสื้อเชิตสวมสูททับโดยไม่ต้องผูกเนคไท ส่วนสุภาพสตรีแต่งกายเรียบร้อยม
ีเครื่องประดับบ้างเล็กน้อย
 
  งานเลี้ยงตอนค่ำ มักเขียนไว้ในบัตรเชิญว่า Dinner การแต่งกายควรหรูหราขึ้น
สุภาพบุรุษใส่เสื้อเชิตผูกเนคไทสวมสูททับ สุภาพสตรีสวมกระโปรงตามสมัยนิยม
หรือสวมกระโปรงยาวที่ดูหรูหรา ถ้าเป็นงานเลี้ยงรับรองหรือ cocktail สามารถ
สวมกระโปรงฟูได้เพราะเป็นการยืนรับประทาน
 
  งานราตรีสโมสร มักกำหนดว่าเป็น Formal even wear สุภาพบุรุษจะแต่งกายครบ
เครื่องเต็มยศ ประกอบด้วยสูท กางเกง เสื้อเชิต เสื้อแค่เอว ผ้าคาดเอว โบว์ไท รองเท้าสีดำ
ส่วนสุภาพสตรีสวมชุดยาวเปิดไหล่ หรือเสื้อแขนยาวมีการตกแต่งหรูหรา
หรืออาจใช้ชุดไทยจักรี ชุดไทยบรมพิมาน
 
  งานพิธีการ เช่นงานพระราชทานปริญญาบัตร งานพระราชพิธี งานที่เป็นทางการ
การแต่งกายต้องเป็นไปตามกำหนด เช่นชุดปกติขาว ชุดสากล ชุดไทยต่างๆ สุภาพสตร
ีไม่ควรสวมกระโปรงสั้นหรือยาวเกินไป
 
  งานทำบุญที่วัด ควรแต่งกายสุภาพมิดชิด สีสันไม่ฉูดฉาด เหมาะกับรูปร่างและผิวพรรณ
ในกรณีของงานศพสุภาพบุรุษควรใส่ชุดสูทสีเข้ม สวมเชิ้ตขาว เนคไทสีดำ
รองเท้าถุงเท้าสีดำ ถ้าเป็นพิธีพระราชทานเพลิงศพ ข้าราชการใส่ชุดปกติขาวสวมแขนทุกข์
สุภาพสตรีสวมชุดดำแบบสุภาพ ไม่ควรมีลวดลาย

วิธีการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ แต่งตัวให้เข้ากับหุ่นและรูปร่างของผู้หญิงในสไตล์ที่ดูดี

สวัสดีค่ะสาวๆหนุ่ม ๆชาวแฟชั่นฮิตฮอต ทั้งช่วงนี้เริ่มเข้าฤดูกาลของการเฉลิมฉลองกันแล้ว หลายคนคงจะคิดหนักว่าจะใส่ชุดแบบไหนดีให้เข้ากับตัวเอง และใส่แล้วมั่นใจว่าสวยถูกใจ อิอิ ถูกใจตัวเองและคนรอบข้าง สไตล์การแต่งตัวให้ดูดี ประมาณว่าชุดไหนใส่แล้วเด่นในงาน 555 เรื่องนี้ยอมกันไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นงานเลี้ยงที่บริษัท ห้างร้าน ต่างๆก็เริ่มจะวางแผนงาน การจัดงานกันแล้ว สินค้าที่กำลังอินเทรด์ ช่วงนี้ก็น่าจะเป็นแนววินเทจหน้าหนาว  ลายลูกไม้ทั้งหลาย รวมถึงการใส่ชุดออกงานต่างๆ วันนี้ FashionHitHot จะนำเสนอ การแต่งตัวเสื้อผ้าแฟชั่น การเลือกเสื้อผ้าหรือชุดเดรสต่างๆ ให้เหมาะสมกับรูปร่างและหุ่นของตัวเอง  รวมถึงเคล็ดลับการใส่ชุดเดรสลูกไม้ให้สวยเก๋มาฝากกันด้วย ลองติดตามดูได้เลยจ้าาา

 เคล็ดลับวิธีการการแต่งตัว ให้ดูดี ให้เข้ากับรูปร่างตัวเอง

สำหรับผู้หญิงเราการเลือกเสื้อผ้า ให้เหมาะกับบุคลิก หรือ การแต่งกายตามรูปร่าง ให้เหมาะสมกับแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้ผู้สวมใส่ ดูดี หรือแย่ลงได้ในพริบตา ถ้าเสื้อผ้าใส่เล่นๆอยู่บ้านคงไม่เท่าไร แต่สำหรับออกงานสู่สายตาประชาชี นี้ไม่ได้เลยค่ะ ต้องเลิศ หรูและดูดีมีเสน่ห์ค้าา

อันดับแรกต้องสำรวจตัวเองก่อนว่ารูปร่างประมาณไหน อก เอว สะโพก ส่วนสูงเป็นอย่างไร และลองมาดูข้อมูลด้านล่างประกอบและนำไปประยุกต์ให้เข้ากับสัดส่วนรูปร่างของตัวเองกันจ้า

1. เสื้อผ้าคนสะโพกใหญ่

สำหรับสาวๆที่มีรูปร่างที่มีสะโพกค่อนข้างใหญ่โต หรือเรียกได้ง่ายๆว่าแม่สาวสะโพกดินระเบิด สำหรับสาวๆที่ไม่ค่อยมั่นใจว่าชุดเดรสที่ตัวเองใส่นั้นทำให้สะโพกของเราดูใหญ่โตโอ่อ่าขึ้นจนเกิดความไม่มั่นใจหรือเปล่านั้น ก็มีทริคเล็กๆน้อยๆดังต่อไปนี้ ให้พยายามเลือกชุดเดรสที่ดึงสายตาคนออกจากสะโพก ไปสนใจส่วนอื่นของร่างกายแทนโดยชุดเดรสอาจจะมีการเน้นที่บริเวณหน้าอกหรือเอว แล้วเป็นชุดเดรสที่คลุมยาวลงมาปิดที่สะโพกหรือต้นขา และควรเป็นสีเข้มสีเดียว ข้อควรระวัง อย่าเลือกชุดเดรสที่มีเนื้อผ้าที่รัดตัวหรือรูปร่างมากเกินไปเพราะชุดจะไปเน้นสะโพกที่ใหญ่ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น

แฟชั่นชุดเดรสสําหรับคนขาและสโพกใหญ่ ช่วยอำพลางหุ่นและรูปร่างช่วงล่าง

                                                ชุดอำพลางสะโพกใหญ่


2. สำหรับสาวๆที่มี ต้นแขนห้อยย้อย

ครั้นจะเลือกชุดเดรสที่เปิดแขนหรือแขนสั้นกุด ก็กลัวว่าแขนที่ย้อยโผล่ออกมาจากชุดเดรสแสนเก๋ที่เลือกไว้จะทำลายความสวยงาม ทริคเล็กน้อยที่ช่วยได้คือเลือกชุดเดรสที่มีแขนที่ยาวปกปิดส่วนที่บกพร่องของรูปร่าง ถ้ากลัวว่าใส่แล้วจะแก่หรือดูมีอายุ แนะนำให้เลือกสีชุดเดรสที่ออกแนวสีสันสดใสมีลวดลายแบบกราฟฟิกเก๋ๆ หรือจะหาเครื่องประดับอย่างสร้อยคอสายยาวๆ มาคล้องให้ตัดกับสีชุดเดรสก็ได้ แต่ถ้าจำเป็นที่จะต้องใส่เดรสแขนสั้นจริงๆก็ควรหาผ้าคลุมไหล่สีสันสดใส่เข้ากันกับชุดเดรสมาคลุมที่ไหล่ ก็ช่วยได้เหมือนกันค่ะ

เชตเสื้อแขนยาวรูปปาก เดรสเข้ารูปสีแดง เดรสแขนสี่ส่วน สำหรับสาวที่มีต้นแขนห้อยย้อย เดรสออกงานเรียบหรู




                                     เดรสแขนสี่ส่วน สำหรับสาวที่มีต้นแขนห้อยย้อย

3.แฟชั่นการแต่งตัวผู้หญิงตัวเล็ก

สำหรับสาวๆที่มีรูปร่างที่เล็กบอบบางไซส์จิ๋วหลิวแล้ว เลือกสีโทนสีสรร อย่างสีเหลือง แดง  ชมพู ก็ได้ รูปทรงของชุดจะต้องไม่รัดรูปร่างมาก และความยาวไม่ควรยาวเลยเข่าเด็ดขาด ชุดเดรสควรจะลู่ตัวแบบพอดีและมีความยาวประมานเข่าหรือเหนือเข่าเท่านั้น เพราะชุดแบบนี้จะช่วยให้รูปร่างและเรียวขาดูสูงขึ้นได้จ้า

เดรสสาวตัวเล็กเดรสยีนส์ฟอก พิมพ์ลาย สำหรับผู้หญิงไซส์เล็ก มินิเดรสเปิดไหล่ลายดอก สีน้ำเงิน สำหรับสาวตัวเล็กชุดแซกลายลูกไม้ see-thoungสีขาว

                                        เดรสสาวตัวเล็ก


4. ชุดอําพรางหุ่น

สำหรับสาวโครงร่างใหญ่ สำหรับสาวๆที่มีรูปร่างค่อนข้างเป็นคนที่มีโครงร่างใหญ่  ชุดเดรสที่เหมาะสมกับสาวรูปร่างใหญ่ก็คือเดรสทรงตรง เข้ารูป ซึ่งชุดเดรสต้องเป็นผ้าผืนเดียวกันทั้งชุด รวมไปถึงสีของชุดเดรสต้องสีเดียวกันด้วยเพื่ออำพรางรูปร่าง ยิ่งเป็นเดรสยาวได้ยิ่งดี แต่อย่ายาวมากเกินไปควรเลือกเดรสที่มีความยาวเลยเข่ามาได้นิดหน่อย เท่านั้น

เดรสพิมพ์ลายภาพสไตล์งานเขียน เป็นชุดเดรสอำพรางหุ่น

ดรสพิมพ์ลายกุหลาบ ลุค Vintage

 เดรสแขนล้ำชุดอําพรางหุ่น

                                            ชุดอําพรางหุ่น


5.เดรสสาวไหล่กว้าง-หน้าอกใหญ่

สำหรับสาวๆที่มีรูปร่างที่มีไหล่ที่กว้างและมีหน้าอกใหญ่ สาวไหล่กว้าง ไม่ควรเลือกชุดเดรสที่จะเป็นการเพิ่มความหนาให้กับท่อนบนอย่างแขนพองๆเช่นแขนตุ๊กตา หรือแขนเดรสที่มีระบายย้อยๆลงมา ควรเลือกใส่แขนกุดหรือเดรสที่มีแขนธรรมดา หรือแบบคล้องคอ จะดีกว่า ส่วนสาวหน้าอกใหญ่ ถ้าไม่มั่นใจก็ควรเลือกชุดเดรสที่ปกปิดหน้าอก อย่างเดรสที่มีคอกลม แต่ถ้าต้องการเปิดหวิวเล็กน้อยก็ให้เลือกเดรสแบบคอวีหรือคอเหลี่ยม ที่ไม่ต้องลึกมาก นอกจากนี้ก็หลีกเลี่ยงเดรสที่มีดันทรง เกาะอก คอกว้างเกินความจำเป็น และที่สำคัญ งดเครื่องประดับที่จะช่วยให้หน้าอกดูโดดเด่นขึ้นด้วย

 jumpsuit เกาหลี เซ็ตเสื้อไหมพรม โทนสีนุ้ด จั๊มสูทกางเกงขายาว พลีทหลัง ผูกโบว์

เสื้อทรงค้างคาวเดรสลายสก๊อต สำหรับสาวหน้าอกใหญ่

                             จั๊มสูทกางเกงขายาว พลีทหลัง ผูกโบว์